ttb 56-1 One Report 2021 (TH)

2.2 ปัจจัยความเสี่ยงหลัก ปัจจัยความเสี่ยงหลัก ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการด� ำเนินธุรกิจ ซึ่งมีดังนี้ 2.2.1 ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านเครดิต คือความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความสูญเสียต่อธนาคารอันเป็นผลมาจากผู้กู้และ/หรือคู่สัญญา ไม่สามารถปฏิบัติตามพันธะทางการเงินหรือเงื่อนไขสัญญาที่ตกลงไว้ ความเสี่ยงด้านเครดิตส่วนใหญ่เกิดจากธุรกรรมการให้ สินเชื่อและรายการภาระผูกพันนอกงบดุล เช่น ตราสารอนุพันธ์ เป็นต้น ธนาคารมีเป้าหมายในการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตเพื่อสร้างผลตอบแทนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงโดยการสร้างสมดุล ระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทนรวมถึงสร้างความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยบูรณาการการบริหาร ความเสี่ยงเข้าไปในการด� ำเนินธุรกิจและการวางแผนกลยุทธ์ของธนาคาร ธนาคารให้ความส� ำคัญและมุ่งมั่นในการพัฒนาปรับปรุงความสามารถในการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนาบุคลากร การก� ำกับดูแลด้านการบริหารความเสี่ยง กระบวนการ เครื่องมือ และระบบการวัดระดับ ความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาแนวทางบริหารความเสี่ยงในรูปของทุนเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economic capital) การปรับปรุงกระบวนการวัดความเสี่ยง กระบวนการพิจารณาสินเชื่อ (Credit Assessment & Origination) และ เครื่องมือต่าง ๆ เช่น แบบจ� ำลองการประเมินความเสี่ยง (Risk Rating Model) ดัชนีชี้วัดส� ำหรับการขอสินเชื่อ (Application Scorecard) ดัชนีชี้วัดพฤติกรรม (Behavior Scorecard) ดัชนีชี้วัดการติดตามหนี้ (Collection Scorecard) นอกจากนี้ ธนาคารได้ก� ำหนดกรอบการจัดท� ำนโยบาย กระบวนการ รวมถึงแนวทางในการวัด และบริหารความเสี่ยง ด้านเครดิต ซึ่งได้บรรลุเป้าหมายในมุ่งมั่นในการสร้างวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตที่แข็งแกร่งภายใน ธนาคารผ่านการรู้จักและเข้าใจลูกค้าของธนาคารอย่างรอบด้าน โดยพนักงานของธนาคารได้ผ่านการอบรมอย่างเข้มข้น เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการป้องกัน 3 ระดับในการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต (3 lines of defense risk management framework) ซึ่งช่วยในการลดความเสี่ยงด้านเครดิต ดังนี้ • ผู้บริหารและพนักงานในสายงานธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการควบคุมความเสี่ยงด้านเครดิตที่เกิดขึ้นภายใน สายงาน (แนวป้องกันระดับที่ 1) • สายงานบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต (แนวป้องกันระดับที่ 2) ร่วมมือ สนับสนุน หรือโต้แย้งในกิจกรรมการบริหาร ความเสี่ยงของสายงานธุรกิจ (แนวป้องกันระดับที่ 1) ทั้งนี้ หน่วยงานบริหารความเสี่ยงมีความเป็นอิสระจากผู้บริหาร และพนักงานที่ให้สินเชื่อ • สายงานตรวจสอบ เป็นแนวป้องกันระดับที่ 3 มีหน้าที่ให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระต่อการออกแบบและประสิทธิผล ของระบบการควบคุมภายในส� ำหรับควบคุมความเสี่ยงด้านเครดิตในการด� ำเนินธุรกิจของธนาคาร 2.2.1.1 ปัจจัยเสี่ยงด้านเครดิต คุณภาพเครดิต สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (ชั้นที่ 3 หรือ Non-Performing Loans) เกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่สามารถช� ำระหนี้ได้ ตามข้อตกลง ซึ่งอาจน� ำไปสู่การสูญเสียของรายได้จากดอกเบี้ย และในบางกรณีอาจน� ำไปสู่การสูญเสียเงินต้น หากไม่สามารถช� ำระเงินต้นได้ไม่ว่าเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการท� ำก� ำไรและ ความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคาร 101 แบบ 56-1 One Report 2564

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3