หน่วยงานธุรกิจตลาดเงินและบริการธุรกรรมทางการเงินในแนวป้องกันระดับที่1 เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารฐานะเงินตรา ต่างประเทศในบัญชีเพื่อการค้าของธนาคาร นอกจากนี้ หน่วยงานบริหารความเสี่ยงด้านตลาดในแนวป้องกันระดับที่ 2 เป็น ผู้ก� ำหนดกรอบงานส� ำหรับมาตรการในการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดซึ่งก� ำหนดขึ้นเพื่อควบคุมระดับความเสี่ยงอันเกิดจาก ผลกระทบด้านลบจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะตลาด มิให้เกินกว่าที่ควรจะเป็นซึ่งอาจส่งผลต่อมูลค่าหรือผลตอบแทนของ บัญชีเพื่อการค้าที่เกี่ยวกับสกุลเงินต่างประเทศของธนาคาร โดยมีการก� ำหนดเพดานความเสี่ยงดังนี้ 1. Delta หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของฐานะ ต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาของสินทรัพย์อ้างอิง 2. Gamma หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของ Delta ต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาของสินทรัพย์อ้างอิง 3. Vega หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของสัญญาใช้สิทธิ (Option) ต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าความ ผันผวนของสินทรัพย์อ้างอิง หน่วยงานธุรกิจตลาดเงินและบริการธุรกรรมทางการเงินรับผิดชอบการท� ำธุรกรรมเพื่อการค้าและการบริหารพอร์ตโฟลิโอ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดจากการลงทุนภายใต้เพดานความเสี่ยงดังกล่าว โดยมีหน่วยงานบริหารความเสี่ยงด้านตลาด เป็นผู้ดูแลความเสี่ยงให้อยู่ภายใต้เพดานความเสี่ยง 2.2.2.2 ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยมีผลกระทบโดยตรงต่อรายได้และมูลค่าทางเศรษฐกิจของธนาคาร การบริหาร ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยได้ด� ำเนินการตามกรอบนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการธนาคาร ซึ่งธนาคารมีการก� ำหนดและควบคุมขอบเขตของความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ยในด้านต่าง ๆ เช่น ขอบเขตความเสี่ยง ของรายได้ และขอบเขตความเสี่ยงของมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (Asset & Liability Management Committee: ALCO) ได้รับมอบอ� ำนาจจากคณะกรรมการธนาคารให้เป็นผู้ควบคุมดูแลการบริหาร ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ภายในโครงสร้างและขอบเขตเพดานความเสี่ยงที่ก� ำหนด ธนาคารมีแนวทางในการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย เพื่อรองรับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย เช่น การปรับสมดุลระหว่างสินทรัพย์และหนี้สิน หรือการก� ำหนดระดับความแตกต่าง (Mismatch) ของระยะเวลา การปรับอัตราดอกเบี้ยของสินทรัพย์และหนี้สินที่เหมาะสม โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก ของธนาคาร รวมทั้งการคาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจของธนาคาร 2.2.3 ความเสี่ยงสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง คือ ความเสี่ยงที่ธนาคารไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันได้เมื่อครบก� ำหนด เนื่องจาก ธนาคารไม่สามารถเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสดได้ทันหรือไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้เพียงพอส� ำหรับการด� ำเนินงาน จนท� ำให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคาร ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (Asset & Liability Management Committee: ALCO) มีหน้าที่ก� ำกับดูแลการบริหารสภาพคล่อง เพื่อให้ธนาคารมีสภาพคล่องเพียงพอในการด� ำเนินธุรกิจ ทั้งสกุลเงินบาทและเงินตราต่างประเทศในภาวะปกติและภาวะวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นได้ และสามารถด� ำรงระดับสภาพคล่อง สูงกว่าขั้นต� ำตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก� ำหนด ซึ่งต้องอยู่ภายในกรอบความเสี่ยงและระดับความเสี่ยง ที่ยอมรับได้ ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการก� ำกับความเสี่ยงและจากคณะกรรมการธนาคาร ธนาคารก� ำหนดให้มี การทบทวนนโยบายแผนและกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤตอย่างสม� ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรืออาจมีการทบทวนเป็นกรณีพิเศษหากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยส� ำคัญอันอาจก่อให้เกิด ผลกระทบต่อการบริหารสภาพคล่องตามนโยบายหรือแผนงานดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายหลักของธนาคาร โครงสร้างขององค์กร กฎเกณฑ์ของทางการและสภาวะตลาดที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ธนาคารและบริษัทในกลุ่ม ธุรกิจทางการเงินของธนาคาร แต่ละบริษัทจะบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องแยกจากกัน 105 แบบ 56-1 One Report 2564
RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3