2.3 ปัจจัยความเสี่ยงอื่น ๆ 2.3.1 ความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจ ธนาคารตระหนักดีถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น และให้ความส� ำคัญกับการบริหารความเสี่ยงดังกล่าว โดยมีศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจของธนาคารคอยติดตามและประเมินสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและเครื่องชี้วัดต่าง ๆ พร้อมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ตลอด เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารมีความพร้อมในการด� ำเนินงานและ สามารถรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นได้ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ บทวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจการเงิน และแนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรมให้กับลูกค้าของธนาคาร 2.3.2 ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ ในการด� ำเนินธุรกิจ ธนาคารต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย กฎเกณฑ์ และกฎระเบียบข้อบังคับ อาทิ พระราชบัญญัติ ธุรกิจสถาบันการเงิน ประกาศและหนังสือเวียนของธนาคารแห่งประเทศไทย กฎหมายและกฎเกณฑ์ของธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งก� ำหนดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศและหนังสือเวียนที่ออกโดยตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย คณะกรรมการก� ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และคณะกรรมการก� ำกับตลาดทุน พระราชบัญญัติ ประกันชีวิต พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย ประกาศและหนังสือเวียนของส� ำนักงานคณะกรรมการก� ำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพท� ำลายล้างสูง และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายของหน่วยราชการต่างประเทศซึ่งมีผลกระทบต่อธุรกิจภายใต้อุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ด้วย หน่วยงานก� ำกับการปฏิบัติงานท� ำหน้าที่ในการให้ค� ำแนะน� ำ ชี้แจงและให้ความเห็นในเรื่องกฎเกณฑ์ทางการแก่หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่าการด� ำเนินธุรกิจและการปฏิบัติงานของธนาคารและบริษัทในกลุ่มเป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ทางการ และระเบียบปฏิบัติงานภายในของธนาคาร ความเสี่ยงที่มีนัยส� ำคัญจะมีการรายงานต่อผู้บริหารระดับสูงและ คณะกรรมการ เพื่อให้มีการบริหารความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ในปี 2564 หน่วยงานที่ก� ำกับดูแลสถาบันการเงินได้ออกแนวนโยบาย รวมถึงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้สถาบันการเงิน ถือปฏิบัติ สรุปหลักเกณฑ์ที่ส� ำคัญได้ดังนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (“ธปท.”) ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบธุรกิจ อันเนื่องมาจากผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ต่อเนื่องหลายมาตรการ เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่อง และแก้ไขหนี้เดิม อาทิเช่น มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน มาตรการแก้ไขหนี้ระยะยาว เช่น การรวมหนี้ การลดข้อจ� ำกัดการรีไฟแนนซ์ รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการเติบโตและพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ให้มี แนวความคิดทางการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) ก� ำหนดกลยุทธ์การท� ำธุรกิจที่ค� ำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล นอกจากนี้ ปรับปรุงหลักเกณฑ์การดูแลเงินกองทุน เพื่อสนับสนุนเสถียรภาพของสถาบันการเงินมากขึ้น เพื่อบริหารความเสี่ยง ความเพียงพอของเงินกองทุนรูปแบบใหม่ ๆ เช่น ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส� ำนักงานคณะกรรมการก� ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ส� ำนักงาน ก.ล.ต.) ได้ก� ำหนดหลักเกณฑ์ การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและเครื่องมือการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม มีเครื่องมือบริหารสภาพคล่อง ที่หลากหลายและเพียงพอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนและลดความเสี่ยงต่อระบบการเงิน มีการส่งเสริม 111 แบบ 56-1 One Report 2564
RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3