การส่งเสริมความรู้ทางการเงินและการเข้าถึงทางการเงิน ธนาคารสานต่อพันธกิจที่ต้องการช่วยให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น มีการส่งเสริมความรู้ทางการเงินและการเข้าถึง ทางการเงินนั้นเป็นสิ่งส� ำคัญที่จะช่วยลดความเหลื่อมล� ำทางการเงินและสังคม โดยธนาคารได้สนับสนุนสินเชื่อธุรกิจ SME ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกด้านสังคม โดยครอบคลุมธุรกิจที่เป็นปัจจัยพื้นฐานความมั่นคงปลอดภัยให้ชุมชน เช่น ธุรกิจ เกี่ยวกับการแพทย์ สถานพยาบาล รวมไปถึงธุรกิจที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ของชุมชน ซึ่งจะน� ำมาซึ่งการพัฒนาต่อยอด ในเศรษฐกิจระดับพื้นฐาน เช่น สินค้า OTOP ธุรกิจหรือสินค้าที่ได้รับการส่งเสริมจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยในปี 2564 มีผลการด� ำเนินงานส� ำคัญดังนี้ สิทธิมนุษยชน ในด้านสิทธิมนุษยชน การเคารพในสิทธิมนุษยชนถือเป็นความรับผิดชอบที่ส� ำคัญของธนาคาร เนื่องจากธุรกิจของธนาคาร ในฐานะสื่อกลางทางการเงินอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนได้ ธนาคารมีนโยบายสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact Principles) และหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (UN Guiding Principles for Business and Human Rights) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization) และยังผนวกการบริหารความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในธุรกิจหลัก รวมทั้งการให้สินเชื่อตามที่ ระบุไว้ในนโยบายความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของธนาคาร โดยธนาคารได้เริ่มต้นประเมินความเสี่ยงด้าน สิทธิมนุษยชนในปี 2562 โดยจะมีการทบทวนประเด็นความเสี่ยงดังกล่าวทุก 3 ปี และทบทวนมาตรการบรรเทาความเสี่ยง ขั้นสูงเป็นรายปี โดยในปี 2564 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยส� ำคัญ รายละเอียดเพิ่มเติมและรายงานการให้ความเชื่อมั่นอย่างเป็นอิสระส� ำหรับตัวชี้วัดผลการด� ำเนินงานด้านสังคม อ่านได้จาก รายงานความยั่งยืนปี 2564 ใน 3 ปีที่ผ่านมา มีนักเรียนกว่า 30,000 คน จากมหาวิทยาลัยกว่า 40 แห่งทั่วประเทศ เข้าร่วมอบรม โครงการ “คนไทยยุคใหม่ ใส่ใจเรื่องเงิน” ซึ่งเป็นโครงการที่จัดร่วมกันระหว่าง สมาชิกสมาคมธนาคารไทย โดยมีทีทีบี เป็นผู้น� ำโครงการ ด้วยอาสากว่า1,000 คน สนับสนุนสินเชื่อธุรกิจ SME ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกด้านสังคม มูลค่ากว่า 228 ล้านบาท 125 แบบ 56-1 One Report 2564
RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3