ttb 56-1 One Report 2021 (TH)

นโยบายการดูแลความขัดแย้งของผลประโยชน์ ธนาคารมีความเข้มงวดในการดูแลรายการที่อาจมีความขัดแย้งของผลประโยชน์ หรือ รายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือ รายการ ระหว่างกัน ซึ่งในการพิจารณาการท� ำรายการระหว่างกันที่ส� ำคัญจะต้องได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการ และต้องสอดคล้องกับข้อก� ำหนดและกฎเกณฑ์ของทางการที่เกี่ยวข้อง โดยก� ำหนดให้มีการพิจารณารายการเหล่านี้ เสมือนเป็นการท� ำรายการที่กระท� ำกับบุคคลภายนอก (arm’s length basis) ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียในรายการใดจะไม่เกี่ยวข้อง ในกระบวนการอนุมัติรายการดังกล่าว ธนาคารได้ก� ำหนดนโยบายการท� ำธุรกรรมกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ส� ำหรับพนักงาน เพื่อให้การท� ำธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์มีการพิจารณาและอนุมัติจาก คณะกรรมการ และมีการเปิดเผยข้อมูลในรายงานประจ� ำปี การพิจารณาวาระที่มีกรรมการท่านหนึ่งท่านใดในคณะกรรมการมีส่วนได้เสีย ธนาคารก� ำหนดให้กรรมการท่านนั้นจะต้อง แจ้งการมีส่วนได้เสียของตนก่อนการพิจารณาวาระนั้น ๆ และให้เลขานุการคณะกรรมการบันทึกไว้ในรายงานการประชุม คณะกรรมการ รวมทั้งงดเว้นจากการมีส่วนร่วมในการประชุมพิจารณาในวาระนั้น แนวปฏิบัติการดูแลความขัดแย้งของผลประโยชน์ ผู้บริหารและพนักงานทุกคนมีหน้าที่รายงานและหลีกเลี่ยงรวมถึงป้องกันกรณีที่จะเกิดความขัดแย้งของผลประโยชน์ โดยรายงานต่อหัวหน้างานถึงผลประโยชน์ที่อาจจะขัดแย้งนั้น รวมถึงหลีกเลี่ยงในการร่วมพิจารณารายการที่อาจมี ผลประโยชน์ขัดแย้ง ผู้อนุมัติรายการที่อาจมีความขัดแย้งนั้นจะต้องเป็นบุคคลอื่นหรือผู้บริหารในล� ำดับถัดไปเพื่อป้องกัน มิให้เกิดความขัดแย้งของผลประโยชน์ นอกจากนี้กรรมการ ผู้บริหารตามนิยาม ก.ล.ต. จะต้องเปิดเผยข้อมูลหลักทรัพย์ ที่มีการถือครองในบริษัทต่าง ๆ เพื่อป้องกันกรณีที่จะเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือการใช้ข้อมูลภายในเพื่อ ประโยชน์ส่วนตน ในปี 2564 ไม่พบประเด็นที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว นโยบายการควบคุมภายใน ธนาคารได้ก� ำหนดนโยบายการควบคุมภายในทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ และจัดให้มีระบบการควบคุมภายใน ที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสม และเพียงพอ มีการประเมินระบบการควบคุมภายในของธนาคารอย่างสมําเสมอ ซึ่งธนาคาร มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระทั้งคณะ ท� ำหน้าที่สอบทานระบบการควบคุมภายใน โดยมีหน่วยงานตรวจสอบท� ำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมรายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชัน ธนาคารยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดความโปร่งใสปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน ทุกรูปแบบ ธนาคารก� ำหนดนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและห้ามจ่าย/รับสินบน และกระบวนการบริหาร จัดการความเสี่ยงดังกล่าวตามแนวปฏิบัติของโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption) หรือ CAC ธนาคารได้ก� ำกับดูแลให้กรรมการและพนักงาน ปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด มีบทลงโทษส� ำหรับพนักงานที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบาย สร้างความตระหนักถึงการ มีส่วนร่วมที่จะรับผิดชอบในการป้องกันและต่อต้านการคอร์รัปชันมิให้เกิดขึ้นภายในธนาคาร ตลอดจนสร้างวัฒนธรรม องค์กรที่ปราศจากการคอร์รัปชัน นอกจากนี้ธนาคารมีมาตรการดูแลและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ที่ปฏิเสธหรือแจ้งเบาะแส การกระท� ำการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งมาตรการป้องกันคุ้มครองให้ได้รับความปลอดภัยจากการถูกคุกคาม ปองร้าย ถูกลงโทษ ลดต� ำแหน่ง หรือข่มขู่ 172 ธนาคารทหารไทยธนชาต จำ �กัด (มหาชน)

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3