9. การควบคุมภายในและรายการระหว่างกัน 9.1 การควบคุมภายใน สรุปความเห็นของคณะกรรมการต่อการควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยง ธนาคารได้ก� ำหนดนโยบายและทิศทางการด� ำเนินงานของธนาคาร โดยให้ความส� ำคัญต่อระบบการควบคุมภายใน ทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผลโดยมีคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการก� ำกับความเสี่ยง คณะกรรมการสรรหาก� ำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล คณะกรรมการสินเชื่อ และคณะกรรมการ IT Oversight ท� ำหน้าที่ก� ำกับดูแลระบบการควบคุมภายใน นโยบาย กระบวนการบริหารความเสี่ยงและการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี หน่วยงานตรวจสอบภายในได้ตรวจสอบการปฏิบัติงานหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงรายการระหว่างกัน และรายงานผลการ ตรวจสอบต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการตรวจสอบรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการธนาคาร และรายงานผลการตรวจสอบยังเป็นเครื่องมือให้ฝ่ายบริหารน� ำไปพัฒนากระบวนการและการควบคุมภายในตามความ เหมาะสม คณะกรรมการธนาคารในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 มีกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ ร่วมประชุมด้วย ได้พิจารณาและรับทราบผลการประเมินระบบการควบคุมภายในของธนาคาร ซึ่งน� ำเสนอโดยประธาน เจ้าหน้าที่บริหารด้านการตรวจสอบ ในการประเมินผลดังกล่าว ผู้ตรวจสอบได้พิจารณาระบบการควบคุมภายในของธนาคาร ตามองค์ประกอบส� ำคัญ 5 ประการ ได้แก่ องค์กรและสภาพแวดล้อม การบริหารความเสี่ยง การควบคุมการปฏิบัติงาน ของฝ่ายจัดการ ระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล และระบบการติดตาม ทั้งนี้ คณะกรรมการธนาคารรับทราบสถานะของระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร ซึ่งโดยทั่วไป อยู่ในระดับที่เหมาะสม มีการพัฒนาและติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องและรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่มีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อนและคลุมเครือโดยเฉพาะจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนทั้งวิถีการด� ำเนินชีวิตของผู้คน รูปแบบธุรกิจ ระบบเศรษฐกิจ และบริการทาง การเงิน การด� ำเนินธุรกิจของธนาคารมีการพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมากยิ่งขึ้น น� ำมาสู่การเปลี่ยนแปลงกระบวนการท� ำงาน เพื่ออ� ำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการท� ำงาน ซึ่งคณะกรรมการธนาคารมีการท� ำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง กับฝ่ายจัดการเพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารมีกรอบบริหารความเสี่ยง และกระบวนการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล เป็นปัจจุบัน สอดรับกับการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) นี้ โดยเฉพาะจากความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยทาง ไซเบอร์ เช่น เหตุการณ์ที่น� ำไปสู่การหยุดชะงักของโครงสร้างพื้นฐาน การให้บริการ การละเมิดด้านความปลอดภัย หรือ การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ยังได้มีการติดตามพัฒนาการในการปรับปรุงกระบวนการการควบคุมภายใน โดยฝ่ายจัดการอย่างเหมาะสม โดยคณะกรรมการตรวจสอบได้ให้ค� ำแนะน� ำต่อฝ่ายจัดการและติดตามการด� ำเนินงานตาม ข้อสังเกตจากการตรวจสอบ และมีการรายงานความคืบหน้า ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการธนาคาร เป็นประจ� ำ รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ เปิดเผยบนเว็บไซต์ธนาคาร ในหัวข้อ รายงานคณะกรรมการชุดย่อย 227 แบบ 56-1 One Report 2564
RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3