ttb 56-1 One Report 2021 (TH)

1.2.3 การตลาดและการแข่งขัน 1) ภาวะเศรษฐกิจไทยและธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2564 ภาคส่งออกหนุนการเติบโต ส่วนตลาดในประเทศทยอยฟื้นตัวได้หลังโควิดคลี่คลาย ในปี 2564 เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ระลอกสาม ท� ำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เป็นไปอย่างช้าๆจากการที่ภาครัฐออกมาตรการควบคุมเข้มงวดในการควบคุมในพื้นที่มีการระบาดสูง ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 77 ของจีดีพีประเทศ โดยการบริโภคภาคเอกชนได้รับปัจจัยลบทั้งตลาดแรงงานที่เปราะบาง รายได้และ ความเชื่อมั่นที่ลดลง กดดันก� ำลังซื้อในภาพรวมให้อ่อนแอแม้ภาครัฐมีมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับ การลงทุนภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดแคมป์ก่อสร้าง การเกิดคลัสเตอร์โรงงานกระจายไปหลายภาค การผลิตอุตสาหกรรมและหลายจังหวัด อย่างไรก็ดี ภาคการส่งออกยังคงเป็นเครื่องยนต์หลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าส่งออกในรูปดอลลาร์ สหรัฐทั้งปี 2564 ขยายตัวถึงร้อยละ 17 สูงสุดในรอบ 11 ปี เป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าส� ำคัญ โดยเฉพาะ เศรษฐกิจสหรัฐฯ และปัญหา Supply Disruption ที่ทยอยคลี่คลายลงในช่วงไตรมาสสุดท้าย ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยว ยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน แม้สถานการณ์การระบาดทั้งในและต่างประเทศเริ่มมีทิศทางดีขึ้นช่วงปลายไตรมาสสาม ซึ่งน� ำไปสู่ การทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมและการเปิดประเทศตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงสองเดือน สุดท้ายเพิ่มขึ้นมาที่ 3.2 แสนคน อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปี 2564 ยังอยู่ในระดับต� ำมากเพียง 4.3 แสนคน ทั้งนี้ จากเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 4 ที่พลิกขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ท� ำให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2564 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 จากที่หดตัวร้อยละ 6.2 ในปี 2563 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.9 จากแรงขับเคลื่อนของทุกองค์ประกอบ แต่ยังไม่ปรับสู่ระดับก่อนสถานการณ์ COVID-19 จากแรงส่งของทุกองค์ประกอบเศรษฐกิจที่มีมากขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 ttb analytics คาดเศรษฐกิจไทย ปี 2565 จะฟื้นตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.9 ด้วยปัจจัยหนุนทั้งจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง การส่งออกที่เติบโตดี และการทยอยฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ดี การระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ที่เริ่มขึ้นในปลายปี 2564 คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรม ทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกในระดับจ� ำกัดและน้อยกว่าการระบาดในปีก่อนหน้า จากการที่ภาครัฐเริ่มมีการผ่อนคลาย มาตรการควบคุม อาทิ ปรับลดระดับพื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาดและน� ำมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวแบบ Test & Go กลับมาใช้ ส� ำหรับแรงขับเคลื่อนจากปัจจัยภายใน การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยยังคงมีแรงหนุน จากมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจที่คาดว่าจะมีต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรกโดยใช้เม็ดเงินจาก พ.ร.ก กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ที่มีการอนุมัติโครงการไปแล้วร้อยละ 80 ในด้านการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวและการส่งออกที่มีแนวโน้ม ขยายตัว รวมทั้งเริ่มเห็นเม็ดเงินลงทุนจากอุตสาหกรรมเป้าหมายของโครงการลงทุนใน EEC ที่ได้รับอนุมัติไปในช่วงก่อน เกิดสถานการณ์โควิด ในส่วนของภาคส่งออก ttb analytics คาดมูลค่าส่งออกทั้งปี 2565 ในรูปดอลลาร์สหรัฐขยายตัวที่ ร้อยละ 4.5 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF คาดการณ์ปริมาณการค้าโลก (goods and services world trade) ขยายตัวที่ร้อยละ 6 และได้รับปัจจัยบวกจากการที่ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ระดับภูมิภาค (RCEP) มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2565 เป็นต้นไป ซึ่งสินค้าไทยที่ส่งออกไปประเทศสมาชิก RCEP กว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าส่งออกรวมจะได้รับการลดภาษีเหลือร้อยละ 0 จึงเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสเจาะตลาดให้แก่ผู้ส่งออก 60 ธนาคารทหารไทยธนชาต จำ �กัด (มหาชน)

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3