ในปี 2564 ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย แม้รายได้ดอกเบี้ยปรับตัวลดลง แต่ยังคงมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ เพิ่มขึ้นเนื่องจากการลดลงของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีก� ำไรสุทธิรวม 168 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 36 พันล้านบาทหรือร้อยละ 27 จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของหนี้สูญหนี้สงสัยจะสูญ และการด้อยค่าเป็นส� ำคัญ ที่ลดลงกว่าร้อยละ 13 ตามสภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในส่วนของรายได้ค่าธรรมเนียม และบริการสุทธิ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากรายได้ค่านายหน้าขายหลักทรัพย์และรายได้ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ( Gross NPL) ของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นปี 2564 อยู่ที่ 530 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.5 พันล้านบาทจากสิ้นปี 2563 โดยสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio) ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ ร้อยละ 3.0 ลดลง 13 basis points ซึ่งเป็นผลจากปริมาณสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อรายย่อยเติบโตได้ดี ในขณะที่มาตรการปรับ โครงสร้างหนี้สนับสนุนให้คุณภาพสินเชื่อปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ในขณะที่ สินเชื่ออุปโภคบริโภคมี NPL Ratio ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 จากคุณภาพสินเชื่อบ้านและที่อยู่อาศัย และ สินเชื่อรถยนต์ ที่มีการจัดการหนี้สินอย่างเป็นระบบและการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น อุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์: สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์: รายได้ค่าธรรมเนียม 2560 2560 2561 2561 2562 2562 2563 2563 2564 2564 12% 25% -18% -4% -5% 200 245 192 181 197 รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ (พันล้านบาท) 1 0 3 5 7 2 4 6 8 % 2.7 3.0 7.1 2.2 ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ สินเชื่อ SME สินเชื่ออุปโภคบริโภค รวม อัตราการเติบโต (%yoy) 63 แบบ 56-1 One Report 2564
RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3