ttb 56-1 One Report 2021 (TH)

• ด้านแนวโน้มการแข่งขันทางธุรกิจ 1. Nano/Micro lending via digital channels ภายหลังจากที่ธนาคารมีแนวโน้มในการลงทุนในระบบดิจิทัลมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดต้นทุนและเข้าถึง ลูกค้าได้มากขึ้น ก็ได้มีการน� ำฐานข้อมูลลูกค้าขนาดใหญ่บนระบบดิจิทัลมาวิเคราะห์เพื่อวางกลยุทธ์และสร้าง ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด ยกตัวอย่างเช่น สินเชื่อบุคคล ดิจิทัล ที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการอนุญาตให้ลงทะเบียนยื่นขอประกอบธุรกิจ เพื่อช่วยให้กลุ่มที่ไม่มี รายได้ประจ� ำหรือไม่มีหลักทรัพย์ประกันสามารถใช้ข้อมูลทางเลือกเช่นการช� ำระค่าน� ำ ค่าไฟรายได้จากธุรกิจออนไลน์ มาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อ การแข่งขันในตลาดมีผู้เล่นเพิ่มมากขึ้นจากสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ ธนาคาร ส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์จ� ำเป็นต้องพัฒนานวัตกรรมที่อาศัยระบบดิจิทัลเพื่อช่วยท� ำให้ธนาคารสามารถ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงได้ดีขึ้น และสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น 2. National Digital ID (NDID) platform National Digital ID Platform ถือเป็นระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยลูกค้าไม่จ� ำเป็นต้องเดินทาง ไปแสดงตัวตน ณ ธนาคารแห่งใหม่อีกครั้ง แต่สามารถส่งค� ำยืนยันให้ธนาคารเดิมที่ลูกค้าเคยได้ด� ำเนินการพิสูจน์ ตัวตนจริงแล้ว (Identification) ท� ำการจัดส่งข้อมูลยืนยันตัวตนชุดเดียวกันมาให้ธนาคารแห่งใหม่แทน (Authentication) ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนการกรอกข้อมูลและงานเอกสารที่ซ� ำซ้อนระหว่างสถาบันการเงินได้ นอกจากนี้ ยังช่วยลดต้นทุน และอ� ำนวยความสะดวกในการท� ำธุรกรรมการเงินให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจในยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและ ปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ซึ่งนับเป็นการส่งเสริมแนวนโยบายอ� ำนวยความสะดวกทางธุรกิจ (Ease of Doing Business) ของไทยอีกทางด้วย โดยในระยะเริ่มแรกจะเริ่มจากการให้บริการเปิดบัญชีและการให้สินเชื่อก่อน ส� ำหรับ เฟสสองคาดว่าจะเริ่มให้บริการเปิดพอร์ตซื้อขายหุ้น กองทุนรวม ประกันภัย รวมถึงเปิดรับผู้ใช้งานต่างชาติและ นิติบุคคล 3. National e-Payment ระบบการช� ำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติถือเป็นแผนยุทธศาสตร์ระดับประเทศในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการช� ำระเงินให้มีความทันสมัยและได้มาตรฐานสากลเพื่อลดต้นทุนในการท� ำธุรกรรมในระบบเศรษฐกิจ ธนาคารยังมีแนวโน้มเน้นพัฒนาการให้บริการบนระบบ PromptPay การขยายการใช้อุปกรณ์รับช� ำระเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ (เครื่อง EDC) และการขยายการใช้ระบบ QR Payment อย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคโควิด-19 สนับสนุนให้การใช้จ่ายผ่านระบบ PromptPay และ ระบบ QR Payment เติบโตอย่าง ก้าวกระโดด ยิ่งไปกว่านั้น ภาครัฐได้ปรับมาใช้ระบบ e-Payment อย่างเต็มรูปแบบทั้งการคืนภาษีและจ่ายสวัสดิการ แก่ประชาชนผ่านระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ในระยะต่อไป จะมีการพัฒนาบริการเพื่อให้ครอบคลุมธุรกรรมอื่นด้วย เช่น เงินปันผลที่บริษัทจดทะเบียนจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น เงินค่าซื้อขายในกองทุนรวม เป็นต้น 4. Virtual Banking/Metaverse การเร่งขึ้นอย่างรวดเร็วของพัฒนาการของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้เกิด การเปลี่ยนแปลงครั้งส� ำคัญของทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคและระบบเศรษฐกิจการเงินไทย ในด้านระบบสถาบันการเงิน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ที่ด� ำเนินธุรกิจบนช่องทางดิจิทัลเต็มรูปแบบ เป็นโอกาสในการพัฒนาช่องทางการให้บริการ รูปแบบใหม่แก่ผู้ใช้บริการ โดยมีลักษณะพิเศษคือไม่มีสถานที่ให้บริการทางกายภาพ และพึ่งพาช่องทางดิจิทัล เป็นหลักในการให้บริการ การท� ำความรู้จักลูกค้า (KYC) การรับฝากเงิน ไปจนถึงการให้บริการทางการเงินอื่น ๆ เช่น 65 แบบ 56-1 One Report 2564

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3