ttb 56-1 One Report 2021 (TH)

2. การบริหารจัดการความเสี่ยง 2.1 ภาพรวมการบริหารความเสี่ยงของทีเอ็มบีธนชาต การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนส� ำคัญของกิจกรรมทางธุรกิจและการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของธนาคาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มี ระดับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงรวมทั้งสร้างมูลค่าที่ยั่งยืนแก่ผู้ถือหุ้น และยึดหลักการก� ำกับดูแลความเสี่ยง ที่สอดคล้องตามกฎเกณฑ์ของทางการ ทั้งนี้ ธนาคารก� ำหนดกรอบการก� ำกับดูแลความเสี่ยงเพื่อเป็นรากฐานส� ำหรับการบริหาร ความเสี่ยงให้มีความสอดคล้องกันและมีประสิทธิผล ซึ่งประกอบด้วย โครงสร้างการก� ำกับดูแลความเสี่ยงที่ชัดเจน ระดับ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ นโยบายการบริหารความเสี่ยง กระบวนการบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งวัฒนธรรมองค์กรที่ค� ำนึงถึงความเสี่ยง โดยทั้งหมดนี้น� ำไปสู่การก� ำหนดกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้ • ในเรื่องผลิตภัณฑ์และพอร์ตโฟลิโอ ก� ำหนดให้มีโครงสร้าง กรอบการพิจารณา การก� ำหนดราคา กระบวนการอนุมัติ และการบริหารที่เหมาะสมและอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ • ในเรื่องกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ก� ำหนดให้มีการก� ำกับการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ทั้งภายในและภายนอก ธนาคารรวมถึงมีการติดตามอย่างสม� ำเสมอ • ก� ำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของธนาคาร มีความโปร่งใสและสอดคล้องกัน • การมอบอ� ำนาจในการด� ำเนินการมีความสอดคล้องกับภาพรวมกลยุทธ์และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของธนาคาร • การสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงและการสร้างมูลค่าอย่างโปร่งใสแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งภายนอกและภายใน 2.1.1 โครงสร้างการก� ำกับดูแลความเสี่ยง ธนาคารได้จัดให้มีโครงสร้างการก� ำกับดูแลความเสี่ยงที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งในการบริหารความเสี่ยง โดยให้มีการกระจาย อ� ำนาจอย่างเหมาะสมในการรับความเสี่ยงจากคณะกรรมการธนาคารลงไปยังคณะกรรมการชุดย่อยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการบริหารจัดการประเด็นความเสี่ยงด้านต่าง ๆ รวมถึงกฎเกณฑ์ของทางการและสภาพแวดล้อม ในการด� ำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากนี้ เพื่อให้หน่วยงานก� ำกับการปฏิบัติงาน ธุรกิจธนาคารมีการท� ำงานอย่างเป็นอิสระ ธนาคารได้ก� ำหนดให้มีการรายงานแบบคู่ขนาน ทั้งต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยง โครงสร้างการก� ำกับดูแลความเสี่ยงของธนาคาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ที่มิใช่ด้านการเงินระดับธนาคาร คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน คณะกรรมการบริหารพอร์ตสินเชื่อ คณะกรรมการควบคุมธุรกิจการเงิน คณะกรรมการความเสี่ยงด้านกฎหมาย * รายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบด้วย คณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการสินเชื่อ คณะกรรมการก� ำกับความเสี่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการ IFRS 9 ECL คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะนโยบายบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการ พิจารณาสินเชื่อ คณะกรรมการปรับปรุง คุณภาพสินเชื่อ 1 คณะอนุกรรมการ พิจารณาสินเชื่อ คณะกรรมการปรับปรุง คุณภาพสินเชื่อ 2 นโยบายความเสี่ยงและ ความเสี่ยงสินเชื่อเชิงกลยุทธ์ พิจารณาสินเชื่อพิเศษ บริหารความเสี่ยง สินเชื่อธุรกิจ บริหารความเสี่ยง สินเชื่อรายย่อย บริหารความเสี่ยง ด้านตลาด บริหารความเสี่ยง สินเชื่อธุรกิจรถยนต์ ก� ำกับการปฏิบัติงาน* บริหารความเสี่ยง ด้านปฏิบัติการองค์กร กฎหมาย 97 แบบ 56-1 One Report 2564

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3