ttb 56-1 One Report 2021 (TH)

7. คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน สนับสนุนคณะกรรมการก� ำกับความเสี่ยงในประเด็นที่เกี่ยวกับการบริหาร สินทรัพย์และหนี้สิน การบริหารเงิน การบริหารสภาพคล่อง และการบริหารเงินกองทุน สายงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยง โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยงซึ่งเป็นสมาชิกของคณะประธานเจ้าหน้าที่บริหารและขึ้นตรงต่อ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มีหน้าที่ก� ำกับดูแล และส่งเสริมให้มีการพัฒนาและน� ำการบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ มาใช้ อย่างสอดคล้องกันทั่วทั้งองค์กร คณะกรรมการก� ำกับความเสี่ยงก� ำหนดเป้าหมายประจ� ำปีของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านบริหารความเสี่ยงและยืนยันผลการปฏิบัติงานโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ก� ำหนดไว้ 2.1.2 ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ธนาคารก� ำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้โดยค� ำนึงถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจของธนาคาร ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ จะแสดงถึงประเภทและระดับของความเสี่ยงที่ธนาคารสามารถยอมรับได้ในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อให้บรรลุผล ตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์โดยจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคาร การก� ำหนดระดับความเสี่ยงที่ ยอมรับได้ช่วยให้มั่นใจได้ว่าธนาคารจะไม่รับความเสี่ยงเกินกว่าปริมาณความเสี่ยงสูงสุดที่สามารถยอมรับได้และระดับ ความเสี่ยงที่ธนาคารเผชิญอยู่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของธนาคาร โดยระดับความเสี่ยงที่เกินกว่าระดับ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้จะได้รับการระบุและด� ำเนินการบริหารจัดการอย่างทันท่วงที ธนาคารมีการติดตามระดับความเสี่ยง เทียบกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างสม� ำเสมอและรายงานการต่อคณะกรรมการก� ำกับความเสี่ยงและคณะกรรมการ ธนาคารผ่านรายงานก� ำกับดูแลความเสี่ยงประจ� ำไตรมาส 2.1.3 นโยบายการบริหารความเสี่ยง ธนาคารก� ำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องกับข้อก� ำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยและทิศทางกลยุทธ์ ของธนาคาร คณะกรรมการธนาคารมีหน้าที่ทบทวนและอนุมัติแม่บทนโยบายการบริหารความเสี่ยงของธนาคารซึ่งครอบคลุม การบริหารความเสี่ยงที่ส� ำคัญโดยภาพรวม และได้มอบอ� ำนาจอนุมัตินโยบายย่อย แนวทาง และมาตรฐานการบริหาร ความเสี่ยงให้กับคณะอนุกรรมการตามความเหมาะสม 2.1.4 กระบวนการบริหารความเสี่ยง ธนาคารบริหารความเสี่ยงผ่านทางกระบวนการส� ำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ 1) การก� ำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ธนาคารมีการก� ำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ส� ำหรับความเสี่ยง ประเภทต่าง ๆ เช่น ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงที่มิใช่ด้านการเงิน เป็นประจ� ำทุกปี โดยระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ถูกน� ำมาใช้และมีความสอดรับกับกระบวนการจัดท� ำแผนธุรกิจรวมทั้งได้มีการหารือ และผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการชุดย่อยที่เกี่ยวข้องและได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคาร ธนาคาร มีการวัดและรายงานผลการด� ำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงเทียบกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างสม� ำเสมอ 2) การระบุความเสี่ยง ธนาคารได้จ� ำแนกความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการด� ำเนินงานออกเป็น 7 ด้าน คือ ความเสี่ยง ด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด (ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จ� ำกัดเพียงความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยง ด้านอัตราดอกเบี้ย) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงที่มิใช่ด้านการเงิน (ประกอบด้วยความเสี่ยงด้านปฏิบัติงาน ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความเสี่ยงด้านการก� ำกับการปฏิบัติงาน รวมทั้งความเสี่ยงด้านการบริการลูกค้า อย่างเป็นธรรม (Market Conduct) และความเสี่ยงด้านกฎหมาย) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านแบบจ� ำลอง และความเสี่ยงด้านชื่อเสียง 99 แบบ 56-1 One Report 2564

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3